0
           

ขับรถดีเซลต้อง NEW REFORMER! คุ้มกว่าติดแก๊ส lpg เพราะอะไร?

นี่คือเหตุผลว่าทำไม "รถดีเซล" ควรติดตั้ง NEW REFORMER ทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ คุ้มกว่าการติดแก๊ส LPG ในรถดีเซล ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า ค่าติดตั้งเบากว่า และไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์

...

  EP.5  | รถดีเซลติดตั้ง NEW REFORMER คุ้มกว่าติดแก๊ส LPG

นี่คือเหตุผลว่าทำไม "รถดีเซล" ควรติดตั้ง NEW REFORMER ทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ดีเซล
คุ้มกว่าการติดแก๊ส LPG ในรถดีเซล ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า ค่าติดตั้งเบากว่า ใช้เวลาไม่นาน มีคู่มือติดตั้งเป็นมาตรฐาน และไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์

 

 

ถ้าให้เปรียบเทียบเรื่องการติดตั้งแก๊ส LPG ในระบบดีเซล หรือ NGV ในระบบดีเซลเนี่ย มูลค่าของการติดตั้งแก๊ส มันจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชิ้น เช่น หัวฉีด หม้อต้ม กลไกบางอย่าง เพื่อจะเปลี่ยนสถานะจากแก๊ส LPG ให้เหมาะสม และฉีดเข้าไปที่เครื่องยนต์แทนน้ำมัน องค์ความรู้ในการที่ต้องจูนจุดที่เหมาะสม ต้องใช้ความแม่นยำและใช้ช่างที่มีประสบการณ์ค่อนข้างสูง และด้วยเทคโนโลยีของรถยนต์ที่เป็นปัจจุบัน มีกล่องอีซียูในการควบคุมที่ซับซ้อนขึ้น เลยทำให้การจูนแก๊ส LPG ในจุดที่แม่นยำ เกินขึ้นไปยากมาก ๆ ดังนั้น สิ่งที่นิวนีฟอร์เมอร์ทำคือ เราสร้างเชื้อเพลิงขึ้นมาฟรี ๆ เราสร้างระบบย้อนกลับให้มันกลายเป็น mechanic ง่าย ๆ นี่คือกลไกที่เราคิดเอาไว้ในระบบของ NEW REFORMER ดังนั้น สิ่งที่ต่างกันชัดเจนก็คือ อุปกรณ์ที่ไม่ได้จำเป็นในการจะต้องจ่ายเชื้อเพลิง ตัวนี้ไม่ต้องมีถังในสต๊อกและสิ่งสำคัญคือ คุณไม่ต้องเสียเงินไปเติม LPG มีแค่น้ำมันเบนซิน 1 ลิตร อาจจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30-35 บ./ถัง แต่มันทำให้รถวิ่งได้เพิ่มระดับ 100-200 กม.ส่วนเรื่องการติดตั้งของช่างไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ผมเป็นคนหนึ่งที่ศึกษาเรื่องการจูนรถในทุกมิติ ทั้งเบนซิน ดีเซล รถมอเตอร์ไซค์ ระบบเชื้อเพลิงต่าง ๆ เราจะพอมีความเข้าใจในระบบตรงนี้ ดังนั้น เราเลยดีไซน์ในระบบให้มันเป็น mechanic ให้มันใช้กลไกง่าย ๆ แต่มันใช้ได้จริง ทำให้ช่างที่ติดต้งเข้าถึงระบบการติดตั้งได้มากขึ้น ราคาติดตั้งลดลงมา และการติดตั้งจะใช้เวลาให้เร็วที่สุดอยู่ที่ไม่เกิน 2 ชม.การซ่อมบำรุง(Maintennce) แต่ละจุดแต่ละรอบ ต้นทุนจะต่ำลง แฃ้วก็ในตัวระบบอุปกรณ์ไม่ได้มีการเจาะอะไรเลย ไม่มีทางที่เครื่องยนต์จะสึกหลอได้เลย เพราะว่าเราควบคุมตามรอบและตามเท้าของแรงดูดที่มันต้องการ ส่วนเรื่องอัตราสิ้นเปลือง นิวรีฟอร์เมอร์จะทำได้ดีกว่าเสมอ

 

รถดีเซล ติดแก๊สได้ไหม? การติดแก๊ส lpg ในรถดีเซล ข้อดี-ข้อเสีย

ถ้าพูดถึง “รถดีเซล” ส่วนใหญ่ได้รับความนิยมใช้งานในภาคขนส่งหรือในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก อาทิ รถตู้ รถบัส รถกระบะ รถปิคอัพ รถบรรทุก รถสิบล้อ รถพ่วง รถหัวลาก ฯลฯ เพราะด้วยเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ พละกำลังสูง ให้แรงบิดสูงในรอบความเร็วต่ำ แถมพื้นฐานเครื่องยนต์ดีเซลยังมีความทนทานสูง และประหยัดน้ำมัน มากกว่ารถเบนซิน สามารถตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องการบรรทุกของหนัก ทั้งคน สิ่งของ หรือสินค้าต่าง ๆ  คุ้มค่าการใช้งานเหมาะกับคนที่ต้องการเดินทางไกล (เกิน 300-400 กม./วัน) ตัวอย่างรุ่นรถดีเซลที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Toyota Hilux Vigo, Toyota Hilux Revo, Toyota  Fortuner, รถตู้ Toyota Commuter, Isuzu MU-X, Isuzu D-Max, Mitsubishi Pajero Sport, Mitsubishi Triton เป็นต้น

สำหรับรถดีเซลกับการติดแก๊ส LPG หลายคนถามว่า “รถดีเซลติดแก๊ส lpg ได้ไหม?” คำตอบคือได้ครับ แต่ไม่ค่อยนิยม เพราะระบบแก๊สและเชื้อเพลิงที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ยนต์ดีเซลมากกว่าคือ NGV (CNG) โดยการติดตั้งแก๊สในรถดีเซลจะมี 2 ระบบ คือระบบเชื้อเพลิงเดี่ยว (ใช้แก๊ส 100%) และระบบเชื้อเพลิงร่วม (ใช้แก๊สร่วมกับน้ำมัน) ซึ่งข้อดีของระบบเชื้อเพลิงเดี่ยวคือได้ความประหยัดมากกว่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องใช้ถังแก๊สขนาดใหญ่หลายใบเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้งานของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะรถขนาดใหญ่ รถโดยสาร บรรทุก

 

Tips : ความรู้เกี่ยวกับการติดแก๊สในรถดีเซล

  • การติดแก๊สดีเซลระบบเชื้อเพลิงเดี่ยว คือเป็นการใช้แก๊ส 100% ส่วนใหญ่เราจะมักเห็นในรถขนาดใหญ่ รถบรรทุก รถสิบล้อ รถพ่วง รถหัวลาก โดยเชื้อเพลิงที่เหมาะสมที่สุดจะเป็น NGV ซึ่งวิธีการจะมี 2 รูปแบบคือ นำเข้าเครื่องยนต์ NGV โดยตรงจากต่างประเทศ หรืออีกแบบจะเป็นการดัดแปลงเครื่องยนต์และปรับจูนกำลังอัดให้เหมาะกับการใช้ก๊าซ NGV ส่วนราคาติดตั้งก็ค่อนข้างสูง (เป็นหลักแสน) เพราะต้องใช้ถังแก๊สขนาดใหญ่หลายลูกเพื่อให้เพียงพอกับการใช้งาน แต่ก็จะได้ความประหยัดมากกว่าระบบฉีดร่วม 
  • การติดแก๊สดีเซลระบบเชื้อเพลิงร่วม คือเป็นการใช้เชื้อเพลิงผสมระหว่างน้ำมันดีเซล กับ NGV หรือ LPG โดยฉีดแก๊สเข้าไปผสมแทนที่น้ำมัน และปรับจูนสัดส่วนการจ่ายแก๊สเป็นเปอร์เซ็น % ตามช่วงความเร็วของรถและความเร็วรอบเครื่องยนต์ โดยปกติอัตราส่วนการจ่ายก๊าซร่วมกับน้ำมันดีเซลจะอยู่ที่ประมาณ 15-30% ซึ่งวิธีการนี้ก็สามารถทำให้ประหยัดค่าน้ำมันได้ แต่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเติมแก๊สเพิ่มอยู่ดี 

 

อย่างไรก็ตาม การติดแก๊ส LPG ในรถดีเซล ซึ่งเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะด้วยกลไกการทำงานและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความละเอียดมาก ทำให้กระบวนการติดตั้งซับซ้อนหลายขั้นตอน ใช้เวลานาน และจำเป็นต้องมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ ดังนั้น หากช่างที่ติดตั้งขาดความเข้าใจ หรือไม่มีความชำนาญมากพอ อาจเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์ได้

นอกจากนั้น ข้อเสียของดีเซลติด lpg (รถเบนซินก็เช่นกัน) ถ้าเลือกติดตั้งอุปกรณ์แก๊สที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือราคาถูกตามท้องตลาดทั่วไป หรือเติมเชื้อเพลิงที่ไม่สะอาด ก็อาส่งผลทำให้หัวฉีดพังเร็วขึ้น ส่วนสมรรถนะก็จะมีดรอปลงบ้าง อัตราเร่ง การออกตัว อาจจะค่อนข้างอืด จึงต้องอาศัยการปรับจูน หรือการทำ “รีแมพ อีซียู” (Remap ecu) เข้ามาช่วยเสริม ทำให้รถมีสมรรถนะที่ดีขึ้น ระบบจุดระเบิดและการเผาไหม้สมบูรณ์มากขึ้น เครื่องยนต์มีกำลัง และอัตราสิ้นเปลืองลดลง